top of page
logo.001.png
  • 3C Project
  • 3CProject Bangkok

รู้จัก 4 พื้นที่เรียนรู้ต้นแบบย่านคลองบางมด



จากการวิเคราะห์พื้นที่ ประเภทแหล่งเรียนรู้ในเขตทุ่งครุ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ สถานศึกษา แหล่งการเรียนรู้ และแหล่งบริการโดยทั้ง 3 ประเภทนี้มีตำแหน่งที่ตั้งกระจายตัวในเขตทุ่งครุทำให้แหล่งเรียนรู้ในเขตนี้มีความเชื่อมโยงระหว่าง คน ถนนและคลองได้เป็นอย่างดีเนื่องด้วยพื้นที่มีความหลากหลายทำให้พื้นที่การเรียนรู้ในเขตทุ่งครุได้มีรูปแบบการเรียนรู้ในหลากหลายมิติ เช่น วิถีชีวิต งานศิลปะ รวมถึงความแตกต่างทางศาสนาและชุมชน


ในปัจจุบันมีความไม่เชื่อมต่อในการเดินทางที่ทำให้พื้นที่มีการเดินทางที่สมบูรณ์ในด้านของความสะดวกสบายและความปลอดภัยการพัฒนาพื้นที่จึงมุ่งเน้นไปที่การออกแบบพื้นที่ถนนพุทธบูชาให้มีความหลากหลายในการใช้งานของพื้นฟุตบาตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทางจักรยานการทำให้พื้นที่มีความเป็นสัดส่วนของคนเดินทางเท้ากับสะพานลอยหรือที่รอรถประจำทางสิ่งเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทในการออกแบบด้านความปลอดภัยของพื้นที่ได้เพิ่มขึ้น รวมถึงการออกแบบทางเดินริมคลองบางมด ปัจจุบันการเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ริมคลองบางมดมีความท้าทายด้านความปลอดภัยไม่น้อยเนื่องจากการปูทางเท้าที่ไม่สม่ำเสมอกับความสูงบ้านแหล่งการเรีนนรู้การออกแบบทางลาดในการเข้าบ้านที่ได้มาตฐานจะเข้ามามีบทบาทในการทำให้การเดินทางปลอดภัยเพิ่มขึ้นรวมถึงการออกแบบจุดลงเรือในพื้นที่รวมพลอย่างมัสยิดหรือวัดเองก็จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงพื้นทีของผู้คนมากขึ้นส่วนการออกแบบที่เฉพาะเจาะจงแต่ละบ้าน



โครงการวิจัยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ผ่านการคิดและการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมของเยาวชนและครอบครัวในเขตทุ่งครุและเขตบางขุนเทียนเพื่อสร้างต้นแบบการเรียนรู้ร่วม ได้คัดเลือกพื้นที่ในการทดลองจัดกิจกรรมทั้งหมด 4 พื้นที่



เซฟติสท์ ฟาร์ม (SAFETist Farm) แหล่งเรียนรู้นิเวศวิถี ริมคลองบางมด

24/7 คลองมอญ-วัดบัวผัน แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140

สนใจเยี่ยมชมติดต่อ 099-286-6937 (ไลล่า) / 063-154-9655 (ทัช)


แนวคิด

เกิดขึ้นในปี 2563 จากความฝันและความมุ่งมั่นของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงพื้นที่กว่า 2 ไร่เศษริมคลองบางมด จากที่เคยปลูกส้มแล้วถูกทิ้งร้าง ให้กลายเป็นแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัยสำหรับคนในกลุ่ม และชุมชนรอบๆ ในรูปแบบของกิจกรรม “ครอบครัวตะกร้าผัก”จากแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)  ที่จะทำให้เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนริมคลองบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ  ที่สามารถสร้างธุรกิจจากฐานทุนด้านการเกษตรที่เลี้ยงตัวเองได้ พร้อมทั้งเป็นผู้ผลิต “อาหารปลอดภัย” และเป็น “อาหารของคนเมือง” ให้กับคนในพื้นที่โดยรอบไปพร้อมกัน




บ้านเขียนวาดและภาพพิมพ์ (Kienwad & Pappim) : ศูนย์พายเรือคายัคและเรือไฟฟ้านำเที่ยว

18 ซอย อนามัยงามเจริญ 25 แยก 2-11 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150

โทรศัพท์: 086-9892888 (น้าโบ๋ฉ / 086-3643744  (พี่แหม่ม)


แนวคิด

บ้านเขียนวาดและภาพพิมพ์ (Kienwad & Pappim) ที่เกิดจากแนวคิดของ น้าโบ๋ (คุณสนธยา เสมทัพพะ และ คุณแหม่ม (คุณร่มพร เสมทัพพระ) ที่ต้องการออกแบบบ้านให้เป็นพื้นที่ศูนย์พายเรือคายัค และเรือนำเที่ยว และรวมไปถึงการจัดบ้านให้เป็นแกลเลอรีแสดงงานทางด้านศิลป โดยได้จัดโครงการ ‘เปลี่ยนบ้านเป็นแกลเลอรี’ (Turn Your House Into A Gallery) ที่มี Concept “ทำให้มหาเศรษฐีกับชาวสวน มีโอกาสได้ชื่นชมงานศิลปะได้เหมือนกัน” โครงการดังกล่าวจัดโดยนักศึกษาคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยได้เชิญชวนเจ้าของบ้านและร้านค้าที่พื้นที่บนผนังยังว่าง นำงานศิลปะไปจัดแสดงเป็นเวลา 2 เดือนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อลดช่องว่างระหว่างศิลปะกับสังคมไทย สร้างความเท่าเทียมให้กับศิลปะทุกชิ้น และนำงานศิลป์ไปสอดแทรกในชีวิตประจำของทุกคนโครงการเริ่มจัดแสดงถึง 28 ก.พ.66 หากบ้านใดสนใจเปลี่ยนบ้านเป็นสถานที่จัดแสดงงานศิลปะ ทีมงานผู้จัดยินดีส่งแคตตาล็อกผลงานไปให้ท่านเลือกและนำไปติดตั้งให้ถึงที่ ไม่ว่าจะเป็นงานจิตรกรรม ประติมากรรม หรือศิลปะสื่อผสม โดยส่วนหนึ่งมาจากงานที่ถูกทิ้งไว้ตามซอกมุมของมหาวิทยาลัย หรือผลงานที่ไม่ผ่านการคัดเลือกในการแข่งขัน หรือเข้าสู่แกลเลอรีนอกจากนั้น บ้านเขียนวาดและภาพพิมพ์ (Kienwad & Pappim) ยังให้บริการเช่าเรือคายัคพายเที่ยวในคลองบางมด และ มีเรือนำเที่ยวเป็นหมู่คณะ รวมไปถึงการท่องเที่ยวระบบนิเวศในคลองบางมด




บ้านมุมิน : ศูนย์การเรียนรู้ศิลปะ ธรรมชาติ และวิถีชุมชนริมคลองบางมด

49 ซอยพุทธบูชา 36 แยก 8 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140  

คุณยุวดี เรืองพานิช เบอร์ติดต่อ 081-5524642

 

แนวคิด

บ้านมุมิน workshop Art เป็นสถานที่ที่ให้ผู้คนมารวมตัวสร้างสรรค์ศิลปะที่ชุมชนคลองบางมดด้วยความสามารถและความรู้ของบุคลากรที่เสริมสร้างกิจกรรมได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ระบายสี, วาดรูป, หรือแม้แต่กิจกรรมทำขนมไทย โดยที่บ้านมุมินได้เปิดสวนเล็กๆให้ครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ อย่างไรก็ตามศิลปะทุกๆชิ้นสามารถนำไปเป็นของใช้ชีวิตประจำวันได้ และสถานที่แห่งนี้ยังเสริมสร้างให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในวัยเดียวกัน เพื่อที่เด็กๆจะได้ไม่จับโทรศัพท์และหันมาเล่นเป็นกลุ่มด้วยกัน เหมือนสมัย ก่อนด้วยความความสุขและสนุก




ศูนย์สร้างสุข อารียา เมตายา

เลขที่ 25/1แยก 2-5 แขวงท่าข้าม บางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150

คุณธาตรี โภควนิช (ดอย) ผู้เขียนหนังสือ อารียา เมตายา เบอร์ โทรติดต่อ 080-4299595

 

แนวคิด

จากหนังสือเรื่อง อารียา เมตายา ซึ่งเป็นหนังสือนวนิยายแนววิทยาศาสตร์ทางจิต (ปรัชญา) ที่ได้นำเอาเรื่องของ “จิตวิญญาณ” มาอธิบายทฤษฏีทาง “จักรวาลวิทยา” ไว้ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล เช่น เรื่องการถือกำเนิดขึ้นของทุกสรรพสิ่ง การกำเนิดขึ้นของมนุษย์ สัตว์ จักรวาล เอกภพ หรือจะเป็นเรื่องทางพลังงาน เช่น เรื่องความมีอยู่จริงของวิญญาณ, ภูตผีปีศาจ, สวรรค์, เทพเจ้า, เทวดา และพระเจ้า ฯลฯ  บ้านอารียา เมตายา มีเป้าหมายคือ “เราจะสร้างสรรค์อารยธรรมโลกใหม่ให้บริบูรณ์ด้วยความรักความเมตตา” ภายใต้นโยบายการดำเนินงานหลักสามประการคือ 1) ใส่ใจต่อผลกระทบกับทุกบริบทของสังคม (Care) 2) แบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน (Share) และ 3) โปร่งใสและบริสุทธิ์ ยุติธรรม (Fair)

บริษัท อารียา เมตายา วิสาหกิจเพื่อสังคม มีเป้าหมายการดำเนินงานสูงสุดคือ “เราจะสร้างสรรค์อารยธรรมโลกใหม่ให้บริบูรณ์ด้วยความรักความเมตตา” ได้ถือกำเนิดขึ้นในเดือน กุมภาพันธ์ 2560 และได้รับการรับรองให้เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมจากกระทรวงพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 2561 จากการดำเนินงานที่ผ่านมาเรามีโครงการต่างๆ มากมายภายใต้ความร่วมมือกับเครือข่ายและผู้ที่เลงเห็นประโยชน์สูงสุดกับสังคม เช่น

  1. โครงการพัฒนาระบบซอฟแวร์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งการให้และการแบ่งปันผ่านแอพพลิเคชั่น Wholay ท่านสามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกอารยธรรมใหม่โดยการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นนี้ได้ที่ Appstore และ Google Play

  2. โครงการพัฒนาระบบการเกษตรที่จะดูแลตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภค, ตั้งแต่คุณค่าผลผลิตจนถึงคุณค่าทางสังคม ภายใต้แพล็ตฟอร์มชื่อ Meta Bio

โครงการชุมชนอารียาเมตายา ซึ่งเป็นชุมชนต้นแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อรองรับประชากรใหม่ในวิถีแห่งการให้และการแบ่งปัน, วิถีที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่ในทุกๆมิติทางสังคม และวิถีที่ต้องการเห็นความโปร่งใสบริสุทธิยุติธรรมให้ปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม โดยเป้าหมายสูงสุดคือเราจะสร้างชุมชนเหล่านี้ให้มากที่สุดเพื่อให้นำสันติสุขกลับคืนมาสู่โลกใบนี้อย่างแท้จริงและเพื่อเป็นไปตามเจตจำนงค์ที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรกของกลุ่มนั่นคือ “เราจะสร้างอารยธรรมแห่งความเมตตา”

3 views0 comments

コメント


bottom of page